วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ วัดบางแม่หม้าย


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ประวัติ วัดบางแม่หม้าย


ประวัติวัดบางแม่หม้าย
             วัดบางแม่หม้าย เลขที่ 122 หมู่ที่ 3 ตั้งอยู่ในตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตามจารึกที่กรมการศาสนา บันทึกการสร้างวัดไว้ พ.ศ. ๒๓๐๐ สมัยอยุธยาตอนกลางก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา  พ.ศ. ๒๓๐๑ (ตามหลักฐานไม่ปรากฏนามผู้ก่อตั้ง) เดิมทีชาวบ้านเรียก วัดโบสถ์” เนื่องจากในย่านนี้มีเพียงวัดเดียวที่มีอุโบสถ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามตำบลบ้านบางแม่หม้าย และมาเป็น  “วัดบางแม่ม่าย”  จะให้ได้ว่าของเดิมใช้ ม่าย  ต่อมาประมาณ
 พ.ศ. ๒๔๗๙  คำว่า ม่าย ได้เปลี่ยนมาเป็น หม้าย จากการบันทึกที่ผิดเพี้ยนไป และที่สำคัญยิ่งบ้านบางแม่หม้ายมีชื่ออยู่ในแผนที่ของกรมทางหลวง เนื่องจากเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ วัดบางแม่หม้ายได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒
ปัจจุบันอุโบสถที่ใช้สังฆกรรมเป็นอุโบสถหลังที่ ๓ โดยหลังที่ ๑ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบางแม่หม้าย(ประถม) ตามล่องรอยซากอิฐ
กระเบื้องเก่า ยังทิ้งล่องเลยให้เห็นอยู่ และ หลังที่ ๒ ตั้งอยู่บนโคกหน้าชื่อป้ายโรงเรียนบางแม่หม้าย ซึ่งหลังที่ ๒ นี้ ยังมีล่องลอยให้เห็นอยู่มาก ทั้งเศษอิฐ และพระพุทธรูปแบบต่างๆมากมาย ตามสันนิษฐานอุโบสถหลังที่ ๒ น่าจะเป็นยุคต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากพบพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์เป็นจำนวนมาก และพระประธานประจำโบสถ์ เป็นแบบหินทรายแกะสลัก ประกอบ ๕ ชิ้น เข้าด้วยกัน หน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว เฉพาะพระพุทธรูป พระประธานเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย (มีชื่อว่าพระพุทธศิลามุนี)  หรือ หลวงพ่อดำ ปัจจุบัน ได้อันเชิญมาประดิษฐาน ณ วิหารตรีมุย (โดยฉาบปูนหุ้มทั้งองค์) และอีกหลายองค์โดยฉาบปูนและทาสีทอง อยู่รอบอุโบสถ
รายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ค้นพบตามหลักฐานที่บันทึกไว้ ตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน
๑.พระอาจารย์แจง  ตั้งแต่ พ.ศ. -             ๕.พระอธิการพูน ตั้งแต่ พ.ศ. –
๒.พระอาจารย์พลับ  ตั้งแต่ พ.ศ. –
         ๖.พระอธิการรอด ตั้งแต่ พ.ศ. –   ถึง พ.ศ. 2473
๓.พระอาจารย์ครุฑ  ตั้งแต่ พ.ศ. –          ๗.พระครูโศภิตสุตการ(สวัสดิ์ จนฺทโชโต) ตั้งแต่ พ.ศ. 2474 ถึง 2524 (รวม50ปี)
๔.พระอธิการฉิม  ตั้งแต่ พ.ศ. -                  ๘.พระครูโสภิตสุตการ(บุญโปรด ธมฺมธีโร) ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 จนถึง ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
๑.เจ้าอาวาสวัดบางแม่หม้าย
๒.เจ้าคณะตำบลบางใหญ่
๓.ประธานหน่วยอบรมประชาชน ตำบลบางใหญ่ และพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำ จ.สุพรรณบุรี
มีรองเจ้าอาวาส ๑ รูป
-พระครูสุวรรณธรรมานุสิฐ (อรัญ ฐิตญาโณ) พ.ศ. 2545
อาณาเขตวัด
วัดมีเนื้อที่ประมาณ 27 ไร่ 2 งาน
ทิศเหนือ จดแม่น้ำท่าจีน
ทิศใต้ จดถนนคอนกรีตเขตวัดท่าเจริญ
ทิศตะวันออก จดเขตวัดท่าเจริญ
ทิศตะวันตก จดตลาดบางแม่หม้าย แนวถนนคอนกรีตข้างอาคารอเนกประสงค์ ตลอดถึงโรงเรียน
โบราณวัตถุ
๑.พระพุทธรูปหินทรายแกะสลัก ๕ ส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ปางสดุ้งมาร (สมัยอยุธยาตอนปลาย)
๒.รอยฝ่าพระพุทธบาทจำลอง เนื้อโลหะ สมัยรัตนโกสินทร์
๓.พระพุทธรูปปางต่างๆ สมัยรัตนโกสินทร์
๔.คำภีร์โบราณ ตำรายาต่างๆ
๕.ตู้ใส่พระไตรปิฏก ไม้สักแกะสลักลงรักปิดทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 (นามผู้สร้าง พ่อหาด แม่หยิบพงษ์โต)
๖.ธรรมมาสไม้สักทรงบุษบก ปิดทอง ประดับกระจก 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470
โบราณสถาน
๑.ศาลาการเปรียบทรงไทยช่อฟ้าใบระกา ไม้เนื้อแข็งทั้งหลังสร้างเมื่อ พ.ศ. 2478
๒.อุโบสถ หลังที่ 3 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2493
๓.วิหารตรีมุขที่ประดิษฐานพระพุทธศิลามุนีและรอยฝ่าพระพุทธบาทจำลองสร้างเมื่อ พ.ศ. 2525
๔.ศาลากาญจนาภิเษก เพื่อเฉลิมฉลองครบพระราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539
๕.ตำหนักพระพรหม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540
๖.กุฏิทรงไทยไม้สักทองอายุ 100 ปี
บ้านบางแม่หม้าย ชนใดที่เกิดในบางแม่หม้าย เขาเรียกว่า คน 3 บาง อันได้แก่
บางแม่หม้าย  เป็นดินแดนแหล่งกำเนิด
บางใหญ่  เป็นตำบลของหมู่บ้าน
บางปลาม้า เป็นเขตแขวงแห่งอำเภอ